SMIS 8 หลัก | 50050138 |
PERCODE 6 หลัก | 130808 |
กระทรวง 10 หลัก | 1050130808 |
ชื่อ (ไทย) | บ้านขุน |
ชื่อ (อังกฤษ) | Bankhun |
หมู่ที่ | 3 |
ถนน | ฮอด-อมก๋อย |
หมู่บ้าน | บ้านขุน |
ตำบล | บ่อหลวง |
อำเภอ | ฮอด |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
รหัสไปรษณีย์ | 50240 |
หมายเลขโทรศัพท์ | |
อีเมล์แอดเดรส | aom55139@gmail.com |
เว็บไซต์ | - |
แผนที่ | https://maps.app.goo.gl/oaQCk9itj4zyYHsK9 |
โรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม หรือเรียกย่อๆว่า “โรงเรียนคุณธรรม” หมายถึง สถานศึกษาที่ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริม ความดีในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและปรับเปลี่ยนเป็น พฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้อย่างยั่งยืน และนำไปขยายเครือข่ายได้
โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เป็นการดำเนินงานเพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์) ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล) ดำเนินงานตามนโยบายภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรม โดยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในฐานะผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาสำหรับเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพอีกทั้งรับผิดชอบในการจัดการศึกษาเพื่อให้เยาวชนทุกคน มีความรู้ ความสามารถ เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล) ได้กล่าวถึงศาสตร์พระราชาซึ่งเป็นศาสตร์ที่ครอบคลุม เรื่องเอกลักษณ์ของชนชาติไทย เช่น การอ่อนน้อมถ่อมตน การเป็นสุภาพชนความขยันหมั่นเพียร การซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นคุณงามความดีของคนไทยที่บรรพชนไทยได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา ศาสตร์พระราชาให้ข้อคิดการประพฤติปฏิบัติตนไว้ว่า อย่าคบคนด้วยฐานะ คบคนด้วยความดีมีมิตรภาพด้วยความรักความผูกพัน และขอให้มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดาผู้มีพระคุณ ประเทศชาติและพระมหากษัตริย์ ถ้าทุกคนปฏิบัติตนตามศาสตร์ของพระราชาแล้วก็จะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ประเทศก็จะมีแต่คนดีและทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า รวมทั้งน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อมุ่งให้เกิดภูมิคุ้มกันและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเกิดความสมดุล และยั่งยืน แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานไว้กว่า 40 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนชาวไทยนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและครอบครัวให้มีภูมิคุ้มกันที่มั่นคงในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข จึงนับได้ว่า“ศาสตร์พระราชา”เป็นเสมือนองค์ความรู้ที่อยู่คู่แผ่นดินไทย ซึ่งล้วนมุ่งให้ประชาชนทุกคนปฏิบัติตนเป็น “คนดี” ทั้งคิดดี พูดดี ทำดี ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม สุจริต มีวินัย และมีความสามัคคีซึ่งกันและกัน เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดไป
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ มีพระราชกระแสรับสั่งต่อประชาชนชาวไทยให้ “ช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” พร้อมทั้งพระราชทานหลัก 3 ประการที่เกี่ยวกับครูและนักเรียนไว้ว่า
“ให้ครูรักเด็ก เด็กรักครู”
“ให้ครูสอนให้เด็กมีน้ำใจต่อเพื่อนไม่ให้แข่งขันกัน แต่ให้แข่งกับตัวเองและให้เด็กที่เรียนเก่งช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า”
“ให้ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนทำร่วมกันเพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี”
จากพระราชกระแสรับสั่งข้างต้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท ด้านการศึกษาเพื่อสานต่อพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ว่า การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ดังนี้
1. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง-มีคุณธรรม
3. มีงานทำ-มีอาชีพ
4. เป็นพลเมืองดี
เพื่อเป็นการสืบสานศาสตร์พระราชา และสนองพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และพระบรมราโชวาทด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงจัดทำโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ขึ้น เพื่อมุ่งปลูกฝังให้ผู้บริหาร ครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการปลูกฝังคุณธรรม 5 ประการ ได้แก่ 1) พอเพียง 2) กตัญญู 3) ซื่อสัตย์สุจริต 4) ความรับผิดชอบ และ 5) อุดมการณ์คุณธรรม โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ให้แต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการคุณธรรม สพฐ. อย่างน้อยร้อยละ 35 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โรงเรียนทุกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการคุณธรรม สพฐ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยท่าน ดร.ไพศาล ปันแดน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ได้ตระหนักถึงความสำคัญว่าโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เป็นโครงการที่ดี ต้องทำทันที ต้องทำพร้อมกัน ต้องทำทั้งหมด โดยมอบหมายให้กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนนโยบาย และมีนโยบายให้โรงเรียนในสังกัดทุกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ทั้งหมด จำนวน 127 โรงเรียน กับ 1 สาขา (ครบ 100%) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา
โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลนานาของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
ปี 2553ร่วมดำเนินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ได้แก่
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
บริษัท บี.กริม
บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
โดยเริ่มนำใบงานชุดกิจกรรมการทดลองเรื่อง “น้ำ” มาให้เด็ก ๆ ได้สนุกกับการทดลองวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
จนถึง ณ ปัจจุบัน โครงการได้พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมสร้างความตระหนักและความรู้ ทักษะเชื่อมโยงกับสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD : (Education for Sustainable Development) เพื่อตอบสนองแนวทาง 17 ข้อของ UN sustainable development goals (SDGs)
ซึ่งเรายังไม่หยุดนิ่งเพียงแค่นี้ ในอนาคตเรามีแนวทางที่จะขยายแนวคิดของโครงการไปทั่วประเทศ รวมถึงขยายแนวคิดสู่ระดับประถมศึกษาด้วยเช่นกัน
โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลนานาของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
ปี 2553ร่วมดำเนินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ได้แก่
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
บริษัท บี.กริม
บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
โดยเริ่มนำใบงานชุดกิจกรรมการทดลองเรื่อง “น้ำ” มาให้เด็ก ๆ ได้สนุกกับการทดลองวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
จนถึง ณ ปัจจุบัน โครงการได้พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมสร้างความตระหนักและความรู้ ทักษะเชื่อมโยงกับสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD : (Education for Sustainable Development) เพื่อตอบสนองแนวทาง 17 ข้อของ UN sustainable development goals (SDGs)
ซึ่งเรายังไม่หยุดนิ่งเพียงแค่นี้ ในอนาคตเรามีแนวทางที่จะขยายแนวคิดของโครงการไปทั่วประเทศ รวมถึงขยายแนวคิดสู่ระดับประถมศึกษาด้วยเช่นกัน
1.หลักการและเหตุผล
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชทานกระแสรับสั่งด้านการศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มี
พื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม 3) การมีงานทำ 4) เป็นพลเมืองดีคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
ชาติ จึงนำมาเป็นหลักคิดในการกำหนดวิสัยทัศน์ของแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
คือ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง” ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (2)
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและ
เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์(4) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทาง
สังคม (5) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (6)
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของคนในประเทศ โดยกำหนด
วิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579) ไว้ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและ
เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” และกำหนดกรอบเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษา
ของประเทศ มุ่งเน้นการจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคใน
การศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบ การบริหารการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนากำลังคนให้มี
สมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ จากผล
การพัฒนาการจัดการศึกษาของประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จในหลายด้านแต่ยังมี
ปัญหาที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนในระยะต่อไป เช่น ด้านโอกาสทางการศึกษา รัฐบาลมี
นโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษา ส่งผลให้ประชากรในวัยเรียนรวมทั้งเด็ก
ด้อยโอกาสและผู้มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีโอกาสได้รับการศึกษาสูงขึ้น แต่ยังเข้าเรียนได้ไม่ครบทุก
คนและมีปัญหาการออกกลางคันอยู่บ้าง ประชากรที่อยู่ในวัยกำลังแรงงานแม้จะได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น
แต่จำนวนแรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องเร่ง
ดำเนินการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต และมีมาตรการต่าง ๆ ให้เด็กและประชาชน
ทุกช่วงวัย สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานเพิ่มขึ้น ด้านคุณภาพการศึกษา
พบว่า ผลการพัฒนายังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก และต่ำกว่าหลายประเทศในแถบเอเชีย ส่วนประเด็นคุณธรรม จริยธรรม
ของเด็กและเยาวชน ยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คุณภาพของกำลังแรงงาน อายุ 15 ปี ขึ้นไป
ยังไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานเนื่องจากผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษา
มีสัดส่วนน้อยกว่าประเภทสามัญศึกษา ทำให้มีการขาดแคลนแรงงานระดับกลาง ส่วนแรงงานที่สำเร็จ
การศึกษาระดับอุดมศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีแต่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและ
สมรรถนะหรือคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการทำให้มีผู้ว่างงานอยู่
จำนวนมาก จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนและกำลังแรงงานให้มีทักษะและ
คุณลักษณะที่พร้อมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ ด้านประสิทธิภาพของการ
2
คู่มือเกณฑ์การคัดกรองโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ | (โรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดาร)
จัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และการใช้จ่ายงบประมาณทางการศึกษานั้น เป็นปัญหาเชิง
โครงสร้างและระบบการจัดการที่ต้องได้รับการปรับปรุง โดยเฉพาะการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาด
เล็กซึ่งมีอยู่จำนวนมากเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและลดภาระงบประมาณ การใช้จ่ายงบประมาณเพื่อ
จัดการศึกษาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่ด้านการพัฒนาผู้เรียน พัฒนาการเรียนการ
สอน และพัฒนาครูค่อนข้างน้อย การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียน
พื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดารและโรงเรียนพื้นที่เกาะ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการจัด
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้แก่ “สร้างคุณภาพผู้เรียน
สู่สังคมอนาคตอย่างยั่งยืน” โดยมีพันธกิจที่สำคัญสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนและโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใน
พื้นที่ลักษณะพิเศษ คือ จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ พัฒนาสถานศึกษาให้มีความ
ปลอดภัยแก่ผู้เรียน และสร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการ
ทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ลักษณะพิเศษ
(พื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดารและพื้นที่เกาะ) เป็นการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และลดความเหลื่อม
ล้ำทางการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนในพื้นที่ให้ได้รับการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมกับ
บริบท ซึ่งเป็นตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
และยังสอดคล้องกับปฏิญญาสากลขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่ให้ความสำคัญกับการ
พัฒนาคน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กด้อยโอกาสอีกด้วย แต่เนื่องจากการจัดการศึกษาที่ผ่านมาเด็กด้อย
โอกาสในพื้นที่ลักษณะพิเศษ (พื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดารและพื้นที่เกาะ) มีความยุ่งยาก เนื่องจาก
ประสบปัญหาการคมนาคมที่ยากลำบาก นักเรียนจำนวนหนึ่งมีภูมิลำเนาตั้งอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน ไม่
สามารถเดินทางไป – กลับในวันเดียวได้การเข้าถึงบริการทางการศึกษาเป็นไปได้ยาก ส่วนใหญ่จะอยู่ใน
พื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดาร พื้นที่เกาะ พื้นที่ห่างไกล หรือตามแนวตะเข็บชายแดน มีความแตกต่างทั้ง
ด้านภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ครอบครัวมีฐานะยากจน
จำเป็นต้องดิ้นรนกับการหาเลี้ยงชีพมากกว่าการส่งเสริมให้บุตรหลานได้รับการศึกษา จากสภาพดังกล่าว
จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้ภาครัฐไม่สามารถดำเนินการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ดังกล่าวยังคงมีอยู่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสภาพปัญหาข้างต้น จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาการ
จัดการศึกษาโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ (โรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดารและโรงเรียน
พื้นที่เกาะ)” มีเป้าหมายที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา และเพื่อเป็นเครื่องมือในการ
จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพบริบทในแต่ละพื้นที่โดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาผ่าน
ความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยได้ดำเนินการส่งเสริม
และพัฒนาภายใต้วิสัยทัศน์ของการพัฒนา คือ “ประชากรวัยเรียนของโรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่น
ทุรกันดารและโรงเรียนพื้นที่เกาะ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ มีทักษะวิชาการ
ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข” เป็นยุทธศาสตร์ในการ
ทำงานตามบริบทแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลด
ความเหลื่อมล้ำ และมีคุณภาพ ให้สามารถจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำไปสู่การ
พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนที่ดีขึ้นทั้งด้านทักษะ
3
คู่มือเกณฑ์การคัดกรองโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ | (โรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดาร)
วิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม
การจัดการศึกษาปัจจุบันยังคงมีอุปสรรคตามสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้าน
เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ตลอดจนสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19) ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคุณภาพของการจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดความ
ต่อเนื่องในการพัฒนาโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ (โรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดาร) ให้ตรง
กลุ่มเป้าหมายอันจะเป็นการสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และเกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่าง
แท้จริง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการคัดกรองโรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดาร ให้ถูกต้อง
เหมาะสมกับสภาพปัญหาของพื้นที่ โดยกำหนดหลักการและเกณฑ์ในการคัดกรองและระบุโรงเรียน
เป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อใช้วางแผนจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนสามารถสนับสนุน
งบประมาณและทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาต่อไป
รายละเอียดการคัดกรอง/คู่มือ
ทุกโรงเรียนของ
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5
เป็นโรงเรียนในโครงการ มีโรงเรียนต้นแบบ คือ โรงเรียนบ้านตาลเหนือ
ทุกโรงเรียนของ
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5
เป็นโรงเรียนในโครงการ มีโรงเรียนต้นแบบ คือ โรงเรียนบ้านตาลเหนือ
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดตั้งขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระราชปณิธานในการจัดการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาการขาดแคลนครู ครูไม่ครบชั้น และครูสอนไม่ตรงสาขาวิชาเอก โดยเฉพาะโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนประเดิม จำนวน ๕๐ ล้านบาท และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์เฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปี พุทธศักราช 2539 ให้เป็นเครื่องหมายของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ สืบมา
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เริ่มออกอากาศการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) เป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539 ดำเนินการถ่ายทอดสดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตลอดจนการศึกษาสายอาชีพ มาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี
ด้วยพระอัจฉริยภาพและสายพระเนตรอันยาวไกลและพระราชปณิธานอันแน่วแน่ ตามพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ทรงเห็นว่าการพัฒนาการศึกษา คือ การสร้างความมั่นคงของประเทศ อีกทั้งยังทรงเข้าพระทัยถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันอย่างถ่องแท้ ในปี พ.ศ. 2560 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารมูลนิธิทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุดใหม่ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พัฒนาต่อยอดการดำเนินงานให้ทันสมัย หากแต่ยังคงยึดถือแนวทางของพระราชบิดาเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาต้องสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณะสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่ มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง มีอาชีพ มีงานทำ และเป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งสายสามัญและสายอาชีพอันสอดคล้องกับสภาวการณ์การศึกษาของโลกให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย
ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดยพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิฯ ได้น้อมนำพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติ มีการพัฒนาระบบการดำเนินงานรูปแบบใหม่ทั้งโครงสร้างการบริหารงานภายในองค์กร และระบบการออกอากาศการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (NEW DLTV) เพื่อให้รองรับกับสถานการณ์ของโลกและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็ว โดยมีการพัฒนาและต่อยอดการดำเนินงานให้บริการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๕ ประการ อันได้แก่
๑. ปรับผังการออกอากาศครอบคลุมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ออกอากาศ 15 ช่อง ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับประชาชนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยช่วงเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๔.๓๐ น. จากเดิมออกอากาศระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เป็นออกอากาศระดับปฐมวัยปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เนื่องจากพบว่าการศึกษาระดับปฐมวัยของประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างมากจนทำให้เด็กไม่สามารถมีพัฒนาการสมวัยได้ อีกทั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในปัจจุบันส่วนใหญ่มีครูครบชั้น หากแต่ยังมีโรงเรียนขยายโอกาสที่เปิดสอนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่ยังคงต้องการความช่วยเหลือ
รายการนอกเวลาเรียน ตั้งแต่เวลา ๑๔.๓๐ น. เป็นต้นไป โดยแบ่งประเภทสาระความรู้ตามช่องรายการ อาทิ ‘รายการสถาบันพระมหากษัตริย์’ ‘รายการความรู้รอบตัว’ ‘รายการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี’ ‘รายการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม’ ‘รายการสำหรับเด็ก’ ‘รายการผู้สูงวัย’ ‘รายการพัฒนาวิชาชีพครู’ เป็นต้น โดยได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน
๒. เปลี่ยนระบบการออกอากาศ จากระบบมาตรฐาน Standard Definition (SD) เป็นระบบความคมชัดสูง High Definition (HD)
เพื่อให้โรงเรียนปลายทางได้รับชมภาพการเรียนการสอนที่คมชัด และเปลี่ยนระบบการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน เพื่อการออกอากาศที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๓. ปรับปรุงอาคารสถานีฯ และห้องเรียนต้นทาง รวมทั้งพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย
เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ให้กับนักเรียนห้องเรียนต้นทางและนักเรียนในโรงเรียนปลายทางทั่วทั้งประเทศอย่างสูงสุด อีกทั้งยังพัฒนาบุคลากรครูและเจ้าหน้าที่เทคนิค เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านสื่อและงานสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงอาคารสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแห่งใหม่ เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ประกอบด้วยห้องเรียนออกอากาศ จำนวน 6 ห้อง ห้องควบคุมการส่งสัญญาณออกอากาศ ห้องตัดต่อรายการ ห้องบันทึกรายการฉากเสมือนจริง ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
๔. เปลี่ยนกระบวนการผลิต (Production) จากการถ่ายทอดสดเป็นการบันทึกเทป
มีการวางแผนการถ่ายทำ จัดทำ Storyboard กำหนดมุมภาพระหว่างครูและทีมผลิตและรวมถึงมีการออกแบบสื่อกราฟิกที่น่าสนใจ ถูกต้องตามหลักวิชาการ นอกจากนี้ยังสามารถแก้ไขรายการที่สอนให้มีความสมบูรณ์ที่สุดและก่อนนำรายการขึ้นสู่เว็บไซต์ให้คุณครูปลายทางได้รับชมและเตรียมการสอนล่วงหน้า 3 วัน รวมทั้งสามารถดาวน์โหลดแผนการสอน ใบงาน สื่อต่าง ๆ ได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ อีกด้วย
๕. เพิ่มช่องทางการออกอากาศ
สามารถรับชมได้ทั้งระบบทีวีดาวเทียม ระบบออนไลน์บนเว็บไซต์ของมูลนิธิฯwww.dltv.ac.th แอปพลิเคชัน DLTV และช่องยูทูป DLTV 1 Channel - DLTV 12 Channel และ DLTV 15 Channel เพื่อให้สามารถรับชมได้สะดวกและง่ายขึ้นทุกที่ ทุกเวลา
ปัจจุบัน “New DLTV” เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกลกว่าสามหมื่นหนึ่งพันแห่ง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (พศ.) โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมทั้งสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน ทำให้มีจำนวนครูและนักเรียนที่ได้รับโอกาสเพิ่มขึ้นกว่าหนึ่งล้านห้าแสนคน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
ปี | เจ้าของผลงาน/หน่วยงาน | เรื่อง/หัวข้อ | ระดับของผลงาน |
---|---|---|---|
ไม่พบข้อมูลที่ค้นหา |