SMIS 8 หลัก | 50050221 |
PERCODE 6 หลัก | 130780 |
กระทรวง 10 หลัก | 1050130780 |
ชื่อ (ไทย) | บ้านทุ่งจำเริง |
ชื่อ (อังกฤษ) | Ban Tung Cham Roeng |
หมู่ที่ | 10 |
ถนน | ฮอด-อมก๋อย |
หมู่บ้าน | บ้านทุ่งจำเริง |
ตำบล | อมก๋อย |
อำเภอ | อมก๋อย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
รหัสไปรษณีย์ | 50310 |
หมายเลขโทรศัพท์ | |
อีเมล์แอดเดรส | yangkaewschool@gmail.com |
เว็บไซต์ | |
แผนที่ | https://maps.app.goo.gl/ZwkkVx9Q482H7RBJ9 |
โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลนานาของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
ปี 2553ร่วมดำเนินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ได้แก่
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
บริษัท บี.กริม
บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
โดยเริ่มนำใบงานชุดกิจกรรมการทดลองเรื่อง “น้ำ” มาให้เด็ก ๆ ได้สนุกกับการทดลองวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
จนถึง ณ ปัจจุบัน โครงการได้พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมสร้างความตระหนักและความรู้ ทักษะเชื่อมโยงกับสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD : (Education for Sustainable Development) เพื่อตอบสนองแนวทาง 17 ข้อของ UN sustainable development goals (SDGs)
ซึ่งเรายังไม่หยุดนิ่งเพียงแค่นี้ ในอนาคตเรามีแนวทางที่จะขยายแนวคิดของโครงการไปทั่วประเทศ รวมถึงขยายแนวคิดสู่ระดับประถมศึกษาด้วยเช่นกัน
1.หลักการและเหตุผล
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชทานกระแสรับสั่งด้านการศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มี
พื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม 3) การมีงานทำ 4) เป็นพลเมืองดีคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
ชาติ จึงนำมาเป็นหลักคิดในการกำหนดวิสัยทัศน์ของแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
คือ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง” ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (2)
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและ
เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์(4) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทาง
สังคม (5) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (6)
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของคนในประเทศ โดยกำหนด
วิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579) ไว้ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและ
เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” และกำหนดกรอบเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษา
ของประเทศ มุ่งเน้นการจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคใน
การศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบ การบริหารการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนากำลังคนให้มี
สมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ จากผล
การพัฒนาการจัดการศึกษาของประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จในหลายด้านแต่ยังมี
ปัญหาที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนในระยะต่อไป เช่น ด้านโอกาสทางการศึกษา รัฐบาลมี
นโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษา ส่งผลให้ประชากรในวัยเรียนรวมทั้งเด็ก
ด้อยโอกาสและผู้มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีโอกาสได้รับการศึกษาสูงขึ้น แต่ยังเข้าเรียนได้ไม่ครบทุก
คนและมีปัญหาการออกกลางคันอยู่บ้าง ประชากรที่อยู่ในวัยกำลังแรงงานแม้จะได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น
แต่จำนวนแรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องเร่ง
ดำเนินการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต และมีมาตรการต่าง ๆ ให้เด็กและประชาชน
ทุกช่วงวัย สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานเพิ่มขึ้น ด้านคุณภาพการศึกษา
พบว่า ผลการพัฒนายังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก และต่ำกว่าหลายประเทศในแถบเอเชีย ส่วนประเด็นคุณธรรม จริยธรรม
ของเด็กและเยาวชน ยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คุณภาพของกำลังแรงงาน อายุ 15 ปี ขึ้นไป
ยังไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานเนื่องจากผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษา
มีสัดส่วนน้อยกว่าประเภทสามัญศึกษา ทำให้มีการขาดแคลนแรงงานระดับกลาง ส่วนแรงงานที่สำเร็จ
การศึกษาระดับอุดมศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีแต่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและ
สมรรถนะหรือคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการทำให้มีผู้ว่างงานอยู่
จำนวนมาก จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนและกำลังแรงงานให้มีทักษะและ
คุณลักษณะที่พร้อมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ ด้านประสิทธิภาพของการ
2
คู่มือเกณฑ์การคัดกรองโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ | (โรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดาร)
จัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และการใช้จ่ายงบประมาณทางการศึกษานั้น เป็นปัญหาเชิง
โครงสร้างและระบบการจัดการที่ต้องได้รับการปรับปรุง โดยเฉพาะการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาด
เล็กซึ่งมีอยู่จำนวนมากเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและลดภาระงบประมาณ การใช้จ่ายงบประมาณเพื่อ
จัดการศึกษาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่ด้านการพัฒนาผู้เรียน พัฒนาการเรียนการ
สอน และพัฒนาครูค่อนข้างน้อย การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียน
พื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดารและโรงเรียนพื้นที่เกาะ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการจัด
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้แก่ “สร้างคุณภาพผู้เรียน
สู่สังคมอนาคตอย่างยั่งยืน” โดยมีพันธกิจที่สำคัญสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนและโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใน
พื้นที่ลักษณะพิเศษ คือ จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ พัฒนาสถานศึกษาให้มีความ
ปลอดภัยแก่ผู้เรียน และสร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการ
ทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ลักษณะพิเศษ
(พื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดารและพื้นที่เกาะ) เป็นการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และลดความเหลื่อม
ล้ำทางการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนในพื้นที่ให้ได้รับการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมกับ
บริบท ซึ่งเป็นตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
และยังสอดคล้องกับปฏิญญาสากลขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่ให้ความสำคัญกับการ
พัฒนาคน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กด้อยโอกาสอีกด้วย แต่เนื่องจากการจัดการศึกษาที่ผ่านมาเด็กด้อย
โอกาสในพื้นที่ลักษณะพิเศษ (พื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดารและพื้นที่เกาะ) มีความยุ่งยาก เนื่องจาก
ประสบปัญหาการคมนาคมที่ยากลำบาก นักเรียนจำนวนหนึ่งมีภูมิลำเนาตั้งอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน ไม่
สามารถเดินทางไป – กลับในวันเดียวได้การเข้าถึงบริการทางการศึกษาเป็นไปได้ยาก ส่วนใหญ่จะอยู่ใน
พื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดาร พื้นที่เกาะ พื้นที่ห่างไกล หรือตามแนวตะเข็บชายแดน มีความแตกต่างทั้ง
ด้านภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ครอบครัวมีฐานะยากจน
จำเป็นต้องดิ้นรนกับการหาเลี้ยงชีพมากกว่าการส่งเสริมให้บุตรหลานได้รับการศึกษา จากสภาพดังกล่าว
จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้ภาครัฐไม่สามารถดำเนินการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ดังกล่าวยังคงมีอยู่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสภาพปัญหาข้างต้น จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาการ
จัดการศึกษาโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ (โรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดารและโรงเรียน
พื้นที่เกาะ)” มีเป้าหมายที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา และเพื่อเป็นเครื่องมือในการ
จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพบริบทในแต่ละพื้นที่โดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาผ่าน
ความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยได้ดำเนินการส่งเสริม
และพัฒนาภายใต้วิสัยทัศน์ของการพัฒนา คือ “ประชากรวัยเรียนของโรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่น
ทุรกันดารและโรงเรียนพื้นที่เกาะ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ มีทักษะวิชาการ
ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข” เป็นยุทธศาสตร์ในการ
ทำงานตามบริบทแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลด
ความเหลื่อมล้ำ และมีคุณภาพ ให้สามารถจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำไปสู่การ
พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนที่ดีขึ้นทั้งด้านทักษะ
3
คู่มือเกณฑ์การคัดกรองโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ | (โรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดาร)
วิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม
การจัดการศึกษาปัจจุบันยังคงมีอุปสรรคตามสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้าน
เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ตลอดจนสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19) ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคุณภาพของการจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดความ
ต่อเนื่องในการพัฒนาโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ (โรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดาร) ให้ตรง
กลุ่มเป้าหมายอันจะเป็นการสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และเกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่าง
แท้จริง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการคัดกรองโรงเรียนพื้นที่ภูเขาสูงในถิ่นทุรกันดาร ให้ถูกต้อง
เหมาะสมกับสภาพปัญหาของพื้นที่ โดยกำหนดหลักการและเกณฑ์ในการคัดกรองและระบุโรงเรียน
เป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อใช้วางแผนจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนสามารถสนับสนุน
งบประมาณและทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาต่อไป
รายละเอียดการคัดกรอง/คู่มือ
ทุกโรงเรียนของ
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5
เป็นโรงเรียนในโครงการ มีโรงเรียนต้นแบบ คือ โรงเรียนบ้านตาลเหนือ
ทุกโรงเรียนของ
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5
เป็นโรงเรียนในโครงการ มีโรงเรียนต้นแบบ คือ โรงเรียนบ้านตาลเหนือ
ปี | เจ้าของผลงาน/หน่วยงาน | เรื่อง/หัวข้อ | ระดับของผลงาน |
---|---|---|---|
ไม่พบข้อมูลที่ค้นหา |